เมนู

สัมมาทิฏฐิ 5



ก็แหละในพระสูตรนี้ ตรัสสัมมาทิฏฐิ 5 ประการ คือ วิปัสสนา-
สัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ
ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ.

บรรดา สัมมาทิฏฐิ 5 ประการนั้น สัมมาทิฏฐิที่ตรัสไว้ โดยนัยมี
อาทิว่า ย่อมรู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ.
ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ชื่อว่า กัมมัสสกตา-
สัมมาทิฏฐิ.

ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้ 2 ประการ คือ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมา-
ทิฏฐิ
ตรัสไว้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ ย่อมเหมาะสำหรับผู้
มีสัมมาทิฏฐิ ดังนี้.
อนึ่ง พึงทราบว่าตรัสปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ ไว้ในคำนี้ว่า " สัม-
มาญาณะ
ย่อมพอเหมาะ " ดังนี้.

วาทะ 3



บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ เจ ภวํ ครหติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดี
ย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ชาวโอกกลชนบท.
บทว่า วสฺสภญฺญา ได้แก่ ชน 2 พวก คือ พวกวัสสะ และ
พวกภัญญะ.
บทว่า อเหตุวาทา คือ ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มี
ปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทำอย่างนี้ว่า
เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ.